อาคารพาณิชย์ หรือที่เรามักจะเรียกติดปากกันว่า ตึกแถว เป็นหนึ่งในตัวเลือกแรกๆ หากจะเลือกเปิดร้าน หรือ ออกแบบตกแต่งร้าน เพราะมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การตกแต่งร้านในห้างสรรพสินค้า (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด การตกแต่งร้านในห้างสรรพสินค้า) และ อาคารพาณิชย์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นอาคารที่เหมาะจะทำการค้าขายและเปิดร้าน
การเช่า หรือซื้ออาคารพาณิชย์เก่ามารีโนเวทใหม่ ปรับให้เป็นร้านค้านั้น ในการออกแบบตกแต่งภายใน จะต้องคำนึงถึงสภาพหน้างาน ว่าสามารถปรับปรุงหรือเลือกใช้วัสดุดั้งเดิมมาปรับใช้ในการออกแบบร้านได้ไหม โดยทั่วไปอาคารพาณิชย์ย่าน Prime Area ในกรุงเทพ เช่น ทองหล่อ เยาวราช รัชดา ห้วยขวาง สีลม นั้นมักจะเป็นตึกเก่า ที่มีอายุหลายสิบปี
ส่วนใหญ่อาคารรุ่นเก่าๆงานโครงสร้างจะแข็งแรง แต่ปัญหาที่มักจะพบจะเป็นในเรื่องของงานระบบไฟฟ้า ประปา และ การรั่วซึม ซึ่งต้องตรวจสอบให้ดีหากจะใช้ของเดิม หากไม่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ มักจะแนะนำให้รื้อและเดินระบบไฟฟ้าใหม่ เพื่อความปลอดภัยและเซอร์วิสที่สะดวกนั่นเอง
มาตรฐานค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างของร้านในอาคารพาณิชย์ ไม่แตกต่างจากการตกแต่งในพื้นที่อาคารทั่วไป ซึ่งจะประหยัดกว่างานในห้างสรรพสินค้าเพราะ ในการออกแบบร้านในตึกแถว สามารถเข้าทำงานได้ตลอดวัน ซึ่งมาตรฐาน จะอยู่ที่ ตร.ม. ละ 8,000-15,000 บาท พื้นที่ต่อชั้นของอาคารพาณิชย์ อยู่ที่ 30-50 ตร.ม.
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างตกแต่งต่อ 1 คูหา ก็จะอยู่ที่ 2-8 แสนบาท แต่หากท่านเจ้าของร้านตั้งงบประมาณไว้ไม่สูง ทีมงานออกแบบร้าน สามารถปรับใช้วัสดุเช่น พื้น ฝ้า และ ไฟฟ้าเดิมของตึก และเลือกโฟกัสการตกแต่งจุดเด่นๆ เช่น เคาท์เตอร์ หรือชุดทางเข้า และแนะนำให้ลงทุนในส่วนของ ป้าย และ สื่อการขาย ก็จะสามารถจบงบประมาณได้ที่ 1-2 แสนบาท ต่ออาคารพาณิชย์ 1 ห้อง
ขนาดมาตรฐานของ ตึกแถว คือหน้ากว้างอยู่ที่ประมาณ 4 เมตร และ ลึกช่วงละ4เมตร ถือเป็นร้านค้าขนาดเล็ก การออกแบบตกแต่งภายในร้าน ในตึกแถวนั้นจึงต้องมีกลเม็ดและเทคนิค ที่จะบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต้องสวยงามโดดเด่น ทีมงานออกแบบร้าน.com มีประสบการณ์ในการออกแบบตกแต่งอาคารพาณิชย์ ให้เป็นร้านที่โดดเด่น ไม่ซ้ำใคร
การเปิดคาเฟ่ในอาคารพาณิชย์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกเลยก็คือ ตำแหน่งของบาร์ “บาร์” เป็นไฮไลท์ที่สุดของงานออกแบบร้านกาแฟและคาเฟ่ หรือถ้าเปรียบเทียบเป็นหนัง ก็คือพระเอกของร้านเลยก็ว่าได้
ตำแหน่งของบาร์นั้น หากวางไว้หน้าร้านก็จะสามารถเลือกปรับเป็นรูปแบบ Take Away ซึ่งกำลังมาแรงและช่วยเพิ่มยอดขายเป็นเทน้ำเทท่าในช่วงยุค New Normal แบบปัจจุบัน (คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียด การก่อสร้างในช่วง โควิด-19)
แต่หากเลือกตำแหน่ง วางไว้ด้านในก็จะเพิ่มจุดดึงดูดสายตา หรือ eye-catching point ที่จะสร้างมิติในการออกแบบตกแต่งคาเฟ่ และ ร้านกาแฟ ให้แก่ร้านของคุณ และยังสามารถตกแต่ง Element พิเศษๆเช่นชุดเก้าอี้บาร์ หรือ ชุดFacadeประตูทางเข้าได้อีกด้วย
ในการออกแบบตกแต่งภายในร้านอาหาร สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบโดยเฉพาะ ร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ มีอยู่สองเรื่อง คือ จำนวนโต๊ะ และ ขนาดครัว เป็นปัญหาสุดคลาสสิกในการออกแบบตกแต่งภายในตึกแถว
ครัวเปรียบเสมือนโรงงานผลิตของร้าน แต่จำนวนโต๊ะก็คือเครื่องผลิตเงินของร้าน หากครัวเล็กไปก็ไม่สามารถสร้างเมนูเด็ดๆได้ แต่หากครัวใหญ่ก็จะทำให้รับลูกค้าได้น้อย โดยเฉพาะพื้นที่อันจำกัดของอาคารพาณิชย์ จึงต้องบาลานซ์ให้พอดีอาจจะออกแบบร้าน ให้มีฟังก์ชั่นจัดวางเครื่องครัวในพื้นที่จำกัด
โดยทั่วไป อาคารพาณิชย์มาตรฐาน มักจะมีพื้นที่ซักล้างด้านหลังตามกฎหมายเรื่องระยะร่นและระบายอากาศ ซึ่งเราสามารถต่อเติมให้เป็นพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม เช่นครัว หรือห่องสต็อกเก็บของ โดยมักจะเลือกทำเป็นโครงหลังคาเหล็ก และกั้นกำแพงด้วยงานก่ออิฐมวลเบา หรือโครงคร่าวกรุสมาร์ทบอร์ด ก็สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกได้